top of page

สถาปัตยกรรมระบบเครือข่ายรูปแบบ  OSI

เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีมาตรฐานการทำงานในรูปแบบเดียวกันดังนั้นองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (OSI)  ได้กำหนดสถาปัตยกรรมระบบเครือข่ายที่เรียกว่า  OSI  ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการใช้งานในระบบเปิด  (Open Systems)  ซึ่งสถาปัตยกรรมระบบเครือข่ายรูปแบบ  OSI  ได้แบ่งระดับชั้นออก เป็น   7  ระดับชั้น 

1. ส่วนการเชื่อมโยงระหว่างต้นทางและปลายทาง

เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์  (การส่งข้อมูลผ่านสื่อกลาง)  ประกอบด้วยระดับชั้นที่  1  และระดับชั้นที่  2

2. ส่วนการติดต่อระหว่างเครื่องต่อเครื่อง

เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลผ่านโหนดต่างๆ ไปในระบบเครือข่าย   (การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่าย)  ประกอบด้วยระดับชั้นที่ 3, ระดับชั้นที่ 4   และระดับชั้นที่ 5

3. ส่วนที่สนับสนุนผู้ใช้งาน

เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้งาน  ประกอบด้วยระดับชั้นที่ 6  และระดับชั้นที่ 7

             หน้าที่ของในแต่ละระดับชั้นใน

สถาปัตยกรรมระบบเครือข่ายรูปแบบ  OSI

           1. ระดับชั้นฟิสิคัล            (Physical layer)

เป็นระดับชั้นทางกายภาพ เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณผ่านสื่อกลาง  มีหน้าที่ความรับผิดชอบ  ดังนี้ คือ
  • การอินเตอร์เฟซระหว่างอุปกรณ์การสื่อสารและสื่อกลาง (Media  Interface)

  • การแทนค่าของบิตข้อมูล (Representation  of  Bits)

  • อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Data Rate)

  • การเข้าจังหวะในการส่งและรับบิตของข้อมูล (Synchronization  of  Bits)

  • รูปแบบการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่าย (Line  Configuration)

  • โครงสร้างของเครือข่าย (Physical  Topology)

  • ทิศทางการส่งข้อมูล (Transmission  Mode)

2.ระดับชั้นดาต้าลิงค์

(Data  Link  Layer)

           

เป็นระดับชั้นที่เกี่ยวกับการส่งข้อมูลผ่านสื่อกลางระหว่างโหนดต่าง ๆ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ คือ

  • จัดเตรียมอุปกรณ์ข้อมูลให้กับระดับชั้นเน็ตเวิร์ค

  • กำหนดเฟรมข้อมูล (Framing)

  • กำหนดตำแหน่งของแต่ละอุปกรณ์ (Physical  Addressing)

  • การควบคุมการไหลของข้อมูล (Flow Control)

  • ตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล (Error Control)

3. ระดับชั้นเน็ตเวิร์ค

(Network  Layer)

เป็นระดับชั้นที่เกี่ยวกับการส่งข้อมูลผ่านข้อมูลระหว่างโหนดต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายมีหน้าที่ความรับผิดชอบ  ดังนี้  คือ

​                                                                                                     

  • กำหนดตำแหน่ง  (Logical  Addressing)

  • ค้นหาเส้นทางในการส่งข้อมูล  (Routing)

  • ควบคุมการติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่าย

4. ระดับชั้นทรานสปอร์ต (Transpot  Layer)

เป็นชั้นที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับอย่างมีประสิทธิภาพ เป็น ไปตามเงื่อนไขที่ได้มีกำหนดไว้  ระดับชั้นทรานสปอร์ตนี้เป็นระดับชั้นสุดท้ายที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับเส้นทางในการส่งข้อมูล  และตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล  มีหน้าที่ความรับผิดชอบ  ดังนี้  คือ                                                                                                              

  • กำหนดตำแหน่งของพอร์ต  (Port  Addressing)

  • การควบคุมการติดต่อ  (Connection  Control)

  • การควบคุมการไหลข้อมูล (Flow Control)

  • ตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล (Error  Control)

5. ระดับเซสชัน

(Session  Layer)

เป็นระดับชั้นที่จัดการในเรื่องของการสร้างการติดต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสารสองเครื่องให้บริการแก่ซอฟต์แวร์การสื่อสารโดยจัดการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่นการเริ่มทำการติดต่อ การส่งข้อมูล และการเลิกติดต่อ มีความรับผิดชอบ ดังนี้ คือ

- ให้บริการตามเงื่อนไขการรับ/ส่ง ข้อมูล ตัวอย่างเช่นการส่งข้อมูลแบบทางใดทางหนึ่งและการส่งข้อมูลแบบสองทาง

  • ควบคุมการส่งข้อมูลในกรณีที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ระดับชั้นนี้จะเป็นผู้อนุญาตให้ผู้ส่งทำการส่งข้อมูลใหม่อีกครั้งในเวลาใดก็ได้

- รายงานความผิดพลาดในการส่งข้อมูลไปยังระดับแอพพลิเคชั่น

6. ระดับพรีเซ็นเตชัน  (Presentation  Layer)

เป็นระดับชั้นที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดคุณสมบัติของข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งเช่น                                            

  • รูปแบบของข้อมูล (Syntex)

  • การเข้ารหัสข้อมูล (Encoding)

  • การลดขนาดของข้อมูล

  • (Data Compression)

  • ควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล (Security)

7. ระดับชั้นแอพพลิเคชั่น

(Application  Layer)

การบริการที่สำคัญของระดับชั้นแอพพลิเคชั่นนี้ คือ

จะต้องแสดงผลให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้ทันที ไม่ว่าการติดต่อสื่อสารนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ตาม หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นก็จะต้องแสดงข้อความให้ผู้ใช้งานทราบ

แหล่งที่มา
https://www.youtube.com/watch?v=miZ7-SUN5q8
bottom of page